Print and Heat
พิมพ์ด้วยระบบซับบริเมชั่น/ซับลิมเชั่น
กระบวนการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น
- คือการพิมพ์หมึกซับลิเมชั่น ลงบนวัสดุต่าง แล้วนำไปผ่านกระบวนการทรานเฟอร์ ด้วยความร้อนประมาณ 180-220 องศา เพื่อเปลี่ยนรูปแบบของหมึกให้ระเหิดและทรานเฟอร์ไปยังวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถรับหมึกประเภทนี้ได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันวัตถุที่นิยมนำมาใช้ในกระบวนการนี้คือ โพลีเอสเตอร์ หรือ ใยสังเคราะห์ที่ได้จากการกลั่น หรือเหลือจาก ปิโตเคมี หรือ เม็ดพลาสติก หรือที่ทุกคนเข้าใจว่า ผ้าที่เกิดจากการสังเคราะห์พลาสติก หรือ ผ้าใยสังเคราะห์ หรือผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือผ้าที่ไม่ได้มาจากกระบวนการธรรมชาติ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย เมื่อผ่านกระบวนทรานเฟอร์ด้วยความร้อนแล้วจะทำให้หมึกพิมพ์หลอมละลายติดกับวัสดุผ้า ทำให้งานที่ได้นั้นหมึกแทบไม่หลุดจากผ้า ใช้ได้นาน สีไม่ซีด สีไม่จาง สดใสตลอดเวลา ดังนั้นวัสดุที่สามารถใช้ได้กับระบบซับลิเมชั่นได้แก่
o ผ้าโมโครโพลี, ผ้าโพเอสเตอร์ ,ผ้าทีซี , ผ้าทีเค , ผ้าสแปนเดด , ผ้าซิ้วซาดิน, ผ้ากันเปื้อน D60 , ผ้าแคนวาสใยสังเคราะห์ , ผ้าชีฟอง , ผ้าโซลอน , ผ้าไนล่อน , ผ้า CVC , ผ้าจูติ , ผ้าสำหรับทำธง , ผ้า DRI FITซึ่งกระบวนการนี้ที่เราคุ้นเคย คือเสื้อผ้ากีฬา เกือบทุกประเภททำจากระบบซับบริเมชั่น
o เซรามิกที่มีการเคลือบโพรีเมอร์ หรือแก้วกาแฟพิมพ์ลาย แก้วกิจกรรม
o อลูมิเนียมที่มีการเคลือเคือบโพลิเมอร์ เช่น วัสดุพิเศษ Chromaluk
อัตราค่าบริการพิมพ์ซับลิเมชั่น
พิมพ์ด้วยระบบ DTG
การสกรีนระบบดิจิทัล DTG (Digital to garment)
คือการสกรีนที่ไม่จำเป็นต้องมีการทำบล็อกสกรีนอีกแล้ว คือถ้าพูดถึงเรื่องการสกรีน สิ่งที่เราเข้าคือการปาดสีลงบล็อกตาข่ายผ้า(บล็อกสกรีน) เพื่อให้น้ำหมึกลงไปในรูผ้าที่ไม่อุดตัน ดังนั้นการทำบล็อกเพื่อให้น้ำหมึกลงเฉพาะจุดที่เราต้องการคือการทำบล็อกสกรีน ซึ่งกระบวนการนี้ต้องผ่านความสำนานในการทำบล็อก และต้องมีการทำตอนแบบพิมพ์ลงบนแผ่นใส แล้วไปผ่านกระบวนการยิงแสงเพื่อปิดรูกาวของบล็อกสกรีน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ทั้งเวลา และก็ความชำนาญการเป็นอย่างสูง ดังนั้นการทำบล็อกถ้าผลิตในแต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้าง จะเกิดข้อจำกัดที่ตามมาคือการผลิตต้องมีจำนวนเยอะด้วยเช่นกัน
ณ ปัจจุบันระบบการสกรีนมีการพัฒนามาสู่ยุคดิจิทัล โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการทำบล็อกสกรีนอีกต่อไป และไม่จำกัดเรื่องของจำนวนสี และจำนวนการผลิต เช่นสามารถผลิตแค่ตัวเดียว หรือชิ้นเดียวก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องผลิตจำนวนเยอะ ๆ อีกต่อไป ต่อไปนี้จะกล่าวถึงการสกรีนแบบดิจิทัล ที่เรียกว่า DTG (Digital to garment) DTG คือการพิมพ์ตรงไปยังวัสดุการพิมพ์เลย โดยไม่จำเป็นต้องการบล็อกสกรีน ณ ปัจจุบัน จะนิยมใช้เครื่องพิมพ์ ( ปริ้นเตอร์) ที่เป็นระบบอิ้งเจ็ต ในการพิมพ์ โดยใช้น้ำหมึกที่เป็นหมึกน้ำ ที่เป็นน้ำหมึกประเภท พิกเม้น (Pigment ) เพราะหมึกประเภทนี้มีความทนต่อการซักล้าง ทนต่อแสงแดด และไม่เป็นอันตรายต่อคน สามารถสวมใส่บนร่างกายเราได้ และที่สำคัญหมึกประเภทนี้สามารถยึดเกาะวัสดุเส้นใยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม โดยกระบวนการคือพิมพ์ลงบนวัสดุ แล้วทำให้แห้งด้วยความร้อน Heat Press โดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการซักย้อม เหมือนโรงงานย้อมผ้า ทั่วๆ ไป ดังนั้นระบบ DTG จึงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างเพราะใช้งานง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ ขั้นตอนน้อย สีสันสวยสดใส
ณ ปัจจุบัน DTG มีการพัฒนา ให้สามารถพิมพ์ผ้าใยธรรมชาติ ได้ทั้งผ้าที่มีเข้ม (ดำ) เนื่องจากมีน้ำหมึกสีขาวในตัวเครื่อง ทำให้เวลาพิมพ์ผ้าสีเข้ม สามารถปูพื้นสีขาวลงไปก่อน ค่อยพิมพ์สีตามทำให้งานพิมพ์ที่ได้มีความสวยมากกว่าระบบงานสกรีนที่ปาดสีลงบล็อก และที่สำคัญความละเอียดของการพิมพ์สามารถให้งานสกรีนภาพเสมือนจริง ทำได้ดีกว่าระบบการสกรีนทุกระบบ